ความรู้สุขภาพ

ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย

ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย

ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย !!

ไส้เลื่อน (Hernia) มาจากภาษาลาตินแปลว่า Rupture (แตก)

หลายคนคงคุ้นเคยกับความเชื่อที่ว่า “ถ้าไม่ใส่กางเกงในแล้วจะเป็นไส้เลื่อน” จริงไหม ไส้เลื่อนคืออะไร ไส้เลื่อนมีกี่ชนิด ไส้เลื่อนสังเกตอย่างไร
ไส้เลื่อนแก้ไขอย่างไร และไส้เลื่อนสามารถป้องกันได้อย่างไร
วันนี้ BCOSMO จะตีโจทย์ ไส้เลื่อนให้กระจ่างชัดเจน  พร้อมวิธีรับมือและหลีกเลี่ยง อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ฉบับหมอ ๆ แบบหมู ๆ 

ไส้เลื่อน

ไส้เลื่อน คือ สภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะภายในช่องท้องหรือเนื้อเยื่อบางส่วน
เคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม ผ่านผนังท้องที่บอบบางและอ่อนแอ (ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง) ออกมานอกช่องท้อง จะสังเกตเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ตุง นูนออกมาจากท้อง ส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน
อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อยคือ ลำไส้เล็ก ไส้เลื่อนสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งไส้เลื่อนนั้น
แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดจากการไม่สวมใส่กางเกงในแต่อย่างใด

ไส้เลื่อนสามารถมีโอกาสเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
หากแต่ผู้ชายอาจมีความเสี่ยงเป็นไส้เลื่อนมากกว่า โดยแบ่งเป็นสัดส่วนชายต่อหญิง
อยู่ที่ 5 : 1 ซึ่งไส้เลื่อนไม่อันตรายอย่างที่คิด
แต่ก็ไม่สามารถหายเองได้ต้องอาศัยการผ่าตัดจากแพทย์ศัลยกรรมผู้เชี่ยวชาญ
แล้วแต่กรณีหนักหรือเบาแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและชนิดของไส้เลื่อน

www.paolohospital.com

www.paolohospital.com

สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน

            สาเหตุของไส้เลื่อน เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความอ่อนแอของเยื่อบุช่องท้อง ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง ที่มีมาแต่กำเนิด การผ่าตัดช่องท้องอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ และยิ่งไปกว่านั้น แรงดันภายในช่องท้องก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนได้อีกเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนได้ดังนี้

ไส้เลื่อนที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด บางคนมีช่องระหว่างท้องกับลูกอัณฑะปิดไม่สนิท บางคนมีความอ่อนแอของผนังหน้าท้องแต่กำเนิด หรือบางคนผนังหน้าท้องเสื่อมสภาพตามอายุไข
ไส้เลื่อนที่เกิดจากแผลผ่าตัดบริเวณช่องท้อง เช่น การทำคลอดหรืออุบัติเหตุที่ช่องท้อง
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการยกของหนัก
ไส้เลื่อนที่เกิดจากปัญหาระบบขับถ่าย เช่นท้องผูก
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการไอหรือจามอย่างรุนแรง
ไส้เลื่อนที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยเองหรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นไส้เลื่อนมาก่อน
ไส้เลื่อนที่เกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ประเภทของไส้เลื่อน

  1. ไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia) ไส้เลื่อนที่ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ประมาณ 1-2% ของประชากรทั่วไป ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 25% ไส้เลื่อนขาหนีบจะพบได้บ่อยที่สุด ถึง 75% จากชนิดของไส้เลื่อนทั้งหมด โดยแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  • Indirect inguinal hernia เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่ตอนเป็นตัวอ่อนในครรภ์ อัณฑะที่อยู่ในช่องท้องจะเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ และเคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะก่อนที่มารดาจะคลอดออกมาและช่องที่บริเวณขาหนีบก็จะปิดไป หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น คือ ช่องไม่ปิด ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวมาอยู่ในช่องนี้และบางครั้งอาจเคลื่อนลงไปจนถึงถุงอัณฑะได้ ถึงแม้จะเป็นความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด แต่การเกิดเป็นไส้เลื่อนได้นั้นมักจะพบเมื่อเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนขึ้นไปแล้ว แต่ในเด็กก็ยังสามารถพบได้บ้าง ส่วนเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ได้มากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนดอีกด้วย
  • Direct inguinal hernia เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้เฉพาะในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยสูงอายุ โดยเกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดชื่อว่า Transversalis fascia ซึ่งอยู่บริเวณขาหนีบในตำแหน่งเฉพาะที่เรียกว่า Hesselbach triangle เกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง จึงทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันพังผืดเหล่านี้ออกมาจนปรากฏเป็นถุงบริเวณขาหนีบ แต่จะไม่ลงไปอยู่ในถุงอัณฑะ
  1. ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือ “สะดือจุ่น” เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือจะปิดไปตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นของพังผืดเข้ามาปกคลุม ถ้าหากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้ ซึ่งมักพบได้ในทารกแรกเกิด ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 3:1 และส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายในอายุ 2 ปี โดยไม่ต้องทำอะไร นอกจากนี้ยังพบว่าทารกชาวผิวดำจะพบเกิดเป็นไส้เลื่อนชนิดนี้ได้มากกว่าทารกชาวผิวขาวถึง 8 เท่า
  1. ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย และพบได้มากในวัยสูงอายุ เพราะเกิดจากกล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมมีการหย่อนยานและเสียความยืดหยุ่น และมีปัจจัยเสี่ยงร่วมคือความดันในช่องท้องที่มากกว่าปกติ โดยสามารถแบ่งออกเป็นได้ 2 ชนิดย่อย ได้แก่
  • Sliding hiatal hernia คือ การที่มีบางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม (เป็นทางที่หลอดอาหารลอดเข้าสู่ช่องท้อง) เข้าไปอยู่ในช่องอก
  • Paraesophageal hernia คือ การที่มีบางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมซึ่งอยู่ข้างๆ รูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร
  1. ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia) พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วน 3:1 แต่พบได้ค่อนข้างน้อย โดยเกิดจากชั้นกล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้องส่วนบนเหนือสะดือไม่แข็งแรง เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เนื้อเยื่อในช่องท้องเคลื่อนตัวผ่านผนังหน้าท้องที่อ่อนแอ แล้วดันออกมาตุงเป็นก้อนโป่งอยู่ที่บริเวณหน้าท้องได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเยื่อไขมันภายในช่องท้อง มีเพียงส่วนน้อยที่จะมีส่วนของลำไส้ตามมาด้วย
  1. ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อยเช่นกัน และเกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น โดยเกิดจากบางส่วนของลำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่เรียกว่า Femoral canal ซึ่งอยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมา ทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงอยู่บริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ และมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น
  1. ไส้เลื่อนตรงข้าง ๆ กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Spigelian hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชายเล็กน้อย ส่วนมากพบตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป โดยเกิดจากชั้นพังผืดที่มีชื่อว่า Spigelian fascia ซึ่งอยู่บริเวณข้าง ๆ กับกล้ามเนื้อหน้าท้องชื่อ Rectus abdominis เกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงคือความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันออกมาปรากฏเป็นก้อนโป่ง
  1. ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 6:1 แต่เป็นชนิดพบได้น้อยมาก โดยเกิดจากบางส่วนของลำไส้เคลื่อนที่ผ่านรู Obturator foramen ซึ่งอยู่ตรงกระดูกเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้หญิง เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคบริเวณเชิงกรานเอื้อต่อการเกิดมากกว่าในผู้ชาย
  1. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) พบได้ในคน ทุกเพศทุกวัยที่เคยได้รับการผ่าตัดภายในช่องท้องมาก่อน (ประมาณ 2-10% ของผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัด) โดยเป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้ในผู้ป่วยบางราย ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะไม่มีก้อนตุงที่หน้าท้อง แต่ภายหลังจากได้รับการผ่าตัดช่องท้อง (อาจนานเป็นเดือนหรือเป็นปี) เมื่อแผลหายแล้ว กล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้องในบริเวณที่ผ่าตัดนั้นเกิดหย่อนยานกว่าปกติ จึงทำลำไส้เคลื่อนตัวดันออกมาตุงเป็นก้อนโป่งที่บริเวณแผลผ่าตัดได้

อาการที่พบได้ในผู้ป่วยไส้เลื่อน

  1. ไส้เลื่อนขาหนีบ
  • มีก้อนตุงที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ นุ่มๆ หยุ่นๆ (มักพบข้างขวามากกว่าข้างซ้าย)
  • เห็นได้ชัดในขณะลุกขึ้นยืน ไอ จาม เบ่งถ่าย หรือยกของหนัก แต่เวลานอนจะหายไป
  • มีลักษณะเป็นก้อนตุงๆ นุ่มๆ หยุ่นๆ ผลุบๆ โผล่ๆ
  • ต้องได้รับการผ่าตัดด่วน มิฉะนั้นอาจจะเกิดสภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
  1. ไส้เลื่อนที่สะดือ
  • จะดือจุ่นหรือโป่งเวลาร้องไห้
  • เป็นมาตั้งแต่แรก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • จะหายเองได้ภายใน 2 ปี หากไม่หายต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
  1. ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia)
  • ส่วนใหญ่จะไม่มีการแสดงอาการ
  • ส่วนน้อยจะมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ แสบร้อนกลางอก จุกแน่นยอดอก คลื่นไส้ เรอบ่อย มีรสเปรี้ยวของกรดในคอ เป็นต้น
  • อาจมีโอกาสเกิดภาวะไส้เลื่อนชนิดติดคาและไส้เลื่อนชนิดถูกบีบรัดได้
  1. ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ (Epigastric hernia)
  • ทำให้คลำได้ก้อนที่บริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ (มีโอกาสประมาณ 20% ที่คลำเจอก้อนได้หลายก้อน)
  1. ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia)
  • สามารถคลำเจอก้อนที่บริเวณติดชิดกับขาหนีบแต่อยู่บริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ
  1. ไส้เลื่อนตรงข้างๆ กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Spigelian hernia)
  • สามารถคลำเจอก้อนตรงข้างๆ กล้ามเนื้อหน้าท้อง
  1. ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia)
  • ผู้ป่วยมักจะมีอาการของลำไส้อุดตันเกิดขึ้นเฉียบพลัน แล้วหายไปได้เอง (เป็น ๆ หาย ๆ)
  • มีส่วนน้อยจะคลำได้เป็นก้อนภายในช่องท้องน้อย
  • อาจมีอาการปวดบริเวณต้นขาด้านในได้ หากผู้ป่วยยืดต้นขาออกไปด้านหลังหรือจับต้นขาแบะออก จะทำให้มีอาการปวด ในทางตรงกันข้ามหากงอต้นขาอาการปวดของผู้ป่วยก็จะบรรเทาลง
  1. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia)
  • ผนังหน้าท้องในบริเวณที่ผ่าตัดนั้นเกิดหย่อนกว่าปกติ
  • เห็นเป็นก้อนตุงขนาดใหญ่ตรงตำแหน่งแผลที่เคยผ่าตัดมาก่อน (ไม่มีอาการเจ็บปวด)
  • จะเห็นเป็นก้อนได้ชัดในท่ายืนหรือท่านั่ง แต่เวลานอนก้อนจะเล็กลงหรือยุบลงไป
  • มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
  • จะเป็นอยู่จนกว่าจะได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมผนังหน้าท้องให้เป็นปกติ

ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย

bangkokhatyai.com

การผ่าตัดไส้เลื่อน

การผ่าตัดไส้เลื่อนการผ่าตัดแบบส่องกล้องการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อดี

–          แผลขนาดเล็ก ทำลายเนื้อเยื่อรอบข้างน้อย

–          ใช้เวลาพักฟื้นเร็ว

–          เจ็บปวดและสูญเสียเลือดน้อยกว่า

–          ป้องกันไส้เลื่อนกลับไปเป็นซ้ำ ได้ดีที่สุด

–          ป้องกันการเกิดไส้เลื่อนขาหนีบได้ดีที่สุด

ข้อเสีย–          ความเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อนซ้ำจะสูงกว่า การผ่าตัดแบบเปิด

–          ใช้เวลาการพักฟื้นยาว

–          ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ปกติ อาจใช้เวลานานถึง 6 สัปดาห์

การรักษาไส้เลื่อน

  • ใส่กางเกงในป้องกันไส้เลื่อน
  • ใส่เข็มขัดป้องกันไส้เลื่อน
  • ไม่สูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการอั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ เป็นระยะเวลานานๆ จนทนไม่ไหว
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
    อันจะทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างกะทันหัน
  • ไม่เบ่งอุจาระหรือปัสสาวะรุนแรง โดยการกินอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใย
    ช่วยให้การขับถ่ายคล่องขึ้น
  • ไปพบแพทย์เมื่อคุณป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการไอเรื้อรังและไอถาวร
  • ยกสิ่งของหนักโดยใช้สันหลังในการแบกรับน้ำหนัก อันจะทำให้เกิด
    การเกร็งกล้ามเนื้อท้องมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการยกน้ำหนักที่หนักเกินไปสำหรับคุณ
ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย
กางเกงในและเข็มขัดไส้เลื่อน

เข็มขัดป้องกันไส้เลื่อน

เข็มขัดป้องกันไส้เลื่อนผู้ชายเข็มขัดป้องกันไส้เลื่อนผู้หญิง

·       เข็มขัดป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน

·       เหมาะสำหรับเด็กผู้ชาย

·       วัสดุทำจากผ้าฝ้าย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

·       หัวเข็มขัดทำจากพลาสติก เรียบ ไม่ทำให้เด็กทารกเจ็บ

·       ผ้ามีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง

·       สามารถระบายอากาศได้ 360 องศา

·       มีไซส์ S / M / L

·       เข็มขัดป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน

·       เหมาะสำหรับเด็กทารกผู้หญิงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 2 ปี

·       วัสดุทำจากผ้าฝ้าย ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

·       หัวเข็มขัดทำจากพลาสติก เรียบ ไม่ทำให้เด็กทารกเจ็บ

·       ผ้ามีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง

·       สามารถระบายอากาศได้ 360 องศา

·       มีไซส์ XXS , XS

ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย
เข็มขัดไส้เลื่อนผู้ชาย
ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย
เข็มขัดไส้เลื่อนผู้หญิงและเด็ก

กางเกงในป้องกันไส้เลื่อน

สินค้า

กางเกงในไส้เลื่อน SIZE Sกางเกงในไส้เลื่อน SIZE Mกางเกงในไส้เลื่อน SIZE Lกางเกงในไส้เลื่อน SIZE XL

คุณสมบัติ

·       ใช้สำหรับสวมกางเกงในผู้ชาย

·       ช่วยป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน

·       ออกแบบพิเศษสำหรับนักกีฬา หรือผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคไส้เลื่อน

เหมาะสำหรับ

·       ผู้ที่มีปัญหาไส้เลื่อน

·       ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดไส้เลื่อน

·       ผู้สูงอายุ

·       นักกีฬา

ขนาดวัด

SIZE S 26-32″ | 66.0 – 81.3 cm.SIZE M 32-38″ | 81.3 – 96.5 cm.SIZE L 38-44″ | 96.5 – 111.8 cm.SIZE XL 44-50″ | 111.8 – 127.0 cm.
ไส้เลื่อน แบบไหน ชนิดไหน ที่น่ากลัว รู้สาเหตุ ป้องกัน ก่อนจะสาย
กางเกงในไส้เลื่อน

ขอบคุณที่มา

Medthai.  “ไส้เลื่อน อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคไส้เลื่อน 7 วิธี !!”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : https://medthai.com/ไส้เลื่อน/.  [13 ก.พ. 2019].

โรงพยาบาลนครธน.  “การผ่าตัดไส้เลื่อนด้วยกล้อง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.nakornthon.com/surgical/knowledge.php?id=155&page=/.  [13 ก.พ. 2019].

LINE TODAY .  “ไส้เลื่อนลงไข่ เกิดจากการไม่ใส่กางเกงในจริงหรือ?”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : https://today.line.me/th/pc/article/ไส้เลื่อนลงไข่+เกิดจากไม่ใส่กางเกงใน+จริงหรือ-Y3O1gB.  [13 ก.พ. 2019].

สนใจดูสินค้ากางเกงในป้องกันไส้เลื่อน คลิก

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อเรา
ID : @Bcosmo1
Tel : 02 416 6322

ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรามีจำหน่าย อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สินค้าราคาพิเศษ!