ความรู้สุขภาพ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะที่สามารถเกิดวิกฤตได้ตลอดเวลา โรคที่มักจะพบในวัยผู้ใหญ่ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะเกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบบ่อยในผู้ชายตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะเริ่มมากขึ้นเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป

หัวใจวาย หมายถึง หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตายไป อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาที และไม่ทุเลาลงโดยการพักหรือการได้รับยา เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ อย่ารอนานหลายชั่วโมงกว่าจะขอความช่วยเหลือ เพราะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้นจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาที

การรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤตให้มีโอกาสรอดชีวิตรวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นหัวใจสำคัญของการช่วยชีวิต โดยใช้เครื่องเอคโม่ ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) คือเครื่องพยุงปอดและหัวใจ หรือปอดเทียมหรือหัวใจเทียม คืออีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสการช่วยชีวิตผู้ป่วยในนาทีชีวิตฉุกเฉินให้กลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง

หลักการทำงานของเครื่อง ECMO ประกอบไปด้วย

เครื่องเอคโม่ (ECMO) เทคโนโลยีการแพทย์ เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ

  • ตัวเครื่องจะดึงเลือดออกจากตัวผู้ป่วย ด้วยการใส่ท่อพลาสติกผ่านหลอดเลือดตามแขน คอ หรือขา บางกรณีใส่เข้าไปในหัวใจ
    ซึ่งการใส่จะต้องไม่อันตรายกับหลอดเลือดและไม่ทะลุเข้าหัวใจ
  • ท่อที่ใส่เข้าไปจะมี 2 ท่อ ท่อหนึ่งเอาเลือดออกจากร่างกาย อีกท่อเอาเลือดกลับเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านตัวเครื่อง เครื่องจะเติมออกซิเจนและปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม
  • การใช้เครื่อง ECMO สามารถช่วยซื้อเวลาได้โดยการเติมออกซิเจนเข้าไปในเลือดเพื่อทดแทนการทำงานของปอด
  • ECMO สามารถใช้ทดแทนการทำงานของหัวใจได้ ในกรณีที่หัวใจไม่ยอมเต้น เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน หรือ ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วไม่ทำงาน เพื่อประคับประคองระหว่างรอการผ่าตัดหรือการรักษาอื่น ๆ
  • นอกจากนี้ในระหว่างที่นำผู้ป่วยมาปั๊มหัวใจ สามารถใช้ระหว่างการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทำให้มีเวลาในการตัดสินใจเพื่อเลือกการตรวจและรักษาที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อช่วยให้เลือดในหลอดเลือดมีปริมาณที่พอจะเลี้ยงสมองและอวัยวะอื่น ๆ ได้
  • ประคับประคองเพื่อรอให้อวัยวะกลับมาทำงานเป็นปกติ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังการติดเชื้อ ภาวะการหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ปอด ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจนทำให้การทำงานของปอดและหัวใจผิดปกติ หรือหลังการผ่าตัดหัวใจที่หัวใจทำงานไม่ดีเพื่อรอให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพ

ปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อเรา
ID : @Bcosmo1
Tel : 02 416 6322